FITPUB THAILAND

FIT PUB Ori-01

แลนด์มาร์คใหม่ย่านรังสิต

ฟิตเนสสายผับ

ที่จะทำให้หัวใจของคุณเต้นแรง ร่างกายฟิตถึงขีดสุด

ระวังร่างพัง! พาส่องข้อเสียของ “การไม่ออกกำลังกาย” ผลร้ายแรงกว่าที่คิด!

ไม่ออกกำลังกาย

แม้ทุกวันนี้ หลาย ๆ คนเริ่มหันมาสนใจการออกกำลังกายมากขึ้น  แทบจะไม่มีใคร ไม่ออกกำลังกาย หันซ้ายก็สายเฮลตี้ กินอาหารสุขภาพ เลือกอาหารที่ดีต่อร่างกาย หันขวาก็เจอคนลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ทั้งแพลงก์ คาร์ดิโอต่าง ๆ จนทำให้คนที่ไม่ออกกำลังกายเช่นเรา ทั้งอิจฉา ทั้งอึดอัด ก็อยากมีหุ่นที่ดี แต่ถ้าจะให้ออกกำลังกาย หรือต้องไปกินอาหารสุขภาพแบบนั้นล่ะก็ คงต้องขอเลือกใช้ชีวิตแบบเดิมดีกว่า 

แต่ก็อย่างว่ามันไม่ง่ายแบบนั้นน่ะสิ ถึงจะไม่ต้องการหุ่นที่ดี แต่สุขภาพก็ยังต้องดีอยู่เสมอนะ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายพัง แน่นอน เราก็พังตามไปด้วย ได้กินได้ใช้ชีวิตแบบสบาย แต่ต้องแลกมาด้วยสุขภาพที่พัง ยังไงก็ไม่คุ้มกันนะ !

งั้นเรามาดูข้อเสียของ การ “ไม่ออกกำลังกาย” กันหน่อยดีกว่า เผื่อจะทำให้สายขี้เกียจ ตามใจปากสายนั่ง ๆ นอน ๆ ไม่ชอบขยับร่างกายอย่างเรา มีแรงฮึด มีไฟในการออกกำลังกาย ให้หันมากลัวอันตรายต่าง ๆ จากการ ไม่ออกกำลังกาย  จนกลับมาห่วงสุขภาพของตัวเองขึ้นมาอีกนิด มาดูกันเลย!

  1. ไขมันสะสมรอบเอวหนาขึ้น 

ไขมันชั้นใต้ผิวหนัง หรือ subcutaneous Fat คือส่วนที่ย้วยออกมาจนมีหลายคนเห็นยังคิดว่า ท้อง! ซึ่งไขมันรอบเอวนี้มาจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานแคลอรี่ที่มากเกินจะถูกนำไปเก็บไว้ในรูปของไขมันรอบเอว โดยผู้หญิงส่วนใหญ่ที่อายุยังไม่ถึง 30 ปี ยังมีระบบเผาผลาญที่ยังทำงานได้ดีอยู่ แต่หากมากกว่านั้นก็จะเริ่มมีปัญหาห่วงยางมากวนใจอย่างแน่นอน 

วิธีการลดไขมันรอบเอวก็มาจากทั้งการกินและการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำ เน้นผัก เน้นไฟเบอร์ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดีขึ้นและทำงานได้คล่องขึ้น พร้อมกับดื่มน้ำเยอะ ๆ และออกกำลังกายลดสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นการแพลงก์ หรือคาร์ดิโอต่าง ๆ  

  1. กล้ามเนื้อลีบ มวลกล้ามเนื้อลด

อาการกล้ามเนื้อลีบ หรือมวลกล้ามเนื้อลด มีสาเหตุมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อน้อยลง หมายถึง มีกิจกรรมในชีวิตน้อย วันๆนั่งอยู่บนโซฟาหรือเก้าอี้ประจำตำแหน่งจนโซฟาเป็นหลุม กิจกรรมที่ทำอย่างมากก็ดูจอ จิ้มจอ ทั้งนี้ ยังมีหลายงานวิจัยที่ระบุว่า ผู้สูงอายุบางคนไม่ได้เดินออกกำลังกายเพียงสองสัปดาห์ก็สามารถเกิดกล้ามเนื้อลีบได้แล้ว

เพราะความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อจะฝ่อลงตามวัย ผู้สูงวัยหลายคนจึงประสบกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยทั่วไปคนเราจะมีมวลกล้ามเนื้อสูงที่สุด (Peak Muscle Mass) ที่ช่วงอายุ 30 – 40 ปี หลังจากอายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อก็จะเริ่มลดลงร้อยละ 1 – 2 ต่อปี 

กลุ่มคนระดับวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่ยังพอมีกำลังในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การออกกำลังกาย ในช่วงวัยที่ยังมีกำลังอยู่ก็ควรทำสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลดหรือลีบในช่วงที่อายุมากขึ้น หรือกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ที่นั่งจ้องคอมหรือนั่งอยู่บนเก้าอี้เป็นระยะเวลานาน หากไม่ขยับ ไม่เคลื่อนไหว ก็มีสิทธิ์ที่กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงเช่นกัน 

  1. หัวใจและปอดจะอ่อนแอลง

อัตราการเต้นของหัวใจจะถูกกระตุ้นให้สูบฉีดอย่างหนัก ก็ต่อเมื่อเรามีการออกกำลังกาย หากเราอยู่บ้านโดยไม่ออกกำลังกายเลย ก็เท่ากับการทำงานของหัวใจจะเริ่มอ่อนแอลง เช่นเดียวกับปอด หากเรามีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหว คนไข้โรคทางเดินหายใจหลายคนมีระบบทางเดินหายใจที่ทรุดโทรมขึ้น เพราะพวกเขาเลิกออกกำลังกาย” 

ดังนั้น การออกกำลังกายจึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจและปอด ที่กล่าวได้ว่า “ไม่มียาวิเศษตัวไหนช่วยได้” โดยทั่วไป ปอดและหัวใจของผู้หญิงจะเริ่มอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่อายุ 35 และเมื่อคุณอายุ 60 อวัยวะ 2 อวัยวะนี้จะอ่อนแอลงมากกว่า 50%! การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio Exercise) ที่เหมาะสมทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่ง และเดินออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนโลหิตได้ดี 

  1. ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

 แคลเซียมนอกจากเป็นส่วนประกอบของกระดูกแล้ว ยังทำหน้าที่อื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะช่วยในการแข็งตัวของเลือด ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อระบบประสาท ทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทั่วไป รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนอื่น ๆ ที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก และที่สำคัญ แคลเซียมยังช่วยควบคุมความสมดุลของกรดในร่างกายอีกด้วย 

เมื่อร่างกายของเราขาดแคลเซียม ก็จะทำให้เกิดโรคและอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดตาม ข้อ ชัก ตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจหยุดเต้น ฯลฯ ดังนั้น เราจึงควรออกกำลังกายเพื่อเสริมแรงต้านเพิ่มมวลกระดูก เช่น ยกน้ำหนัก วิ่ง กระโดดเชือก และเดินเร็ว ล้วนเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และยังเป็นวิธีที่ดีในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้สูงอายุเดิน หรือทรงตัวได้ดี ไม่หกล้มง่าย

  1. เสี่ยงต่อการเป็นโรค

คนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย จะมีร่างกายที่อ่อนแอ พร้อมกับมีความต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยได้ง่าย เมื่อเกิดการเจ็บป่วย จะรักษาหายช้า และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งปัญหานี้จะผลกระทบจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

5.1 โรคประสาทเสียดุลยภาพ

ตามปกติการทำงานของอวัยวะภายในอยู่ในการควบคุมของระบบประสาทเสรี 2 ระบบ ซึ่งทำงานต่อต้านซึ่งกัน และกันในสภาพสมดุล การขาดการออกกำลังทำให้การทำงานของประสาทระบบเสรีระบบหนึ่งลดลง การทำงานของอีกระบบ จึงเด่นขึ้น เป็นผลให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะภายในที่ถูกควบคุมอยู่ 

5.2 โรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ

การขาดการออกกำลัง (ประกอบกับปัจจัยอื่น เช่น กินอาหารเกิน ความเคร่งเครียดทางจิตใจ การสูบบุหรี่มาก ฯลฯ) ทำให้หลอดเลือดต่าง ๆ เสียความยืดหยุ่น มีธาตุหินปูนและไขมันไปพอกพูน ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเกิดการอุดตันได้ง่าย โดยเฉพาะที่หัวใจ 

5.3 โรคความดันเลือดสูง

จากสภาพของหลอดเลือดทั่วไปที่มีการเสื่อมประกอบกับสภาวะทางจิตใจและการเสียดุลยภาพของระบบประสาท อันเนื่องมาจากการขาดการออกกำลังผู้ที่ขาดการออกกำลังจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

4. โรคอ้วน

การขาดการออกกำลังทำให้การเผาผลาญอาหารเป็นพลังงานน้อยลง จึงมีการสะสมอาหารส่วนเกิน ไว้ในสภาพ ไขมัน การมีไขมันเกินถึงร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัวที่ควรเป็น ถือว่าเป็นโรค แต่อาการของโรคจะแสดงออกมาในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบการเคลื่อนไหวมีการติดขัดไม่คล่องตัว ระบบการหายใจและไหลเวียนเลือดมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ความอ้วนยังเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ อีกมาก อาทิเช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง และโรคหัวใจ

5. โรคเบาหวาน

แม้โรคเบาหวานจะเป็นโรคทางกรรมพันธุ์และเป็นความผิดปกติของต่อมที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การออกกำลังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลโดยเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำแม้จะมีโอกาสเป็น เบาหวานอยู่ในตัวแล้วก็ตาม

  1. อารมณ์ร้อน ขี้หงุดหงิด 

การเสียเหงื่อจะช่วยให้อารมณ์ของเราดีขึ้น จากงานวิจัยที่เผยแพร่ใน National Library of Medicine ระบุว่า การออกกำลังกายจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก 2 แบบ แบบแรกคือความรู้สึกตื่นตัว ตื่นเต้น และมีความสุข แบบที่ 2 คือความรู้สึกสงบ พอใจและผ่อนคลาย จึงทำให้รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว และสบายใจหลังจากการออกกำลังกาย 

ทั้งนี้ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือที่เรียกกันว่าสารแห่งความสุขออกมา ขณะที่สมองก็จะหลั่งสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid) ที่ทำให้มีความสุข, สารสื่อประสาท และสารเคมีต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกดีออกมามากขึ้น

  1. แก่ก่อนวัย

ร่างกายของมนุษย์มีเซลล์มากถึง 60-90 ล้านล้านเซลล์ และภายในออร์แกเนลล์ (Organelle) ซึ่งอยู่ในเซลล์เกือบทั้งหมดยังมีสิ่งที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,000-3,000 ตัวโดยประมาณต่อเซลล์หนึ่งเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตพลังงานชื่ออะดีโนซีนไตรฟอสเฟต หรือเอทีพี (Adenosine Triphosphate) และเอทีพี คือ แหล่งพลังงานจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การย่อยอาหาร เรียกได้ว่าเป็นพลังงานเพื่อการเติบโตและการดำรงชีพโดยแท้

ซึ่งการออกกำลังกายในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยให้ไมโตคอนเดรียมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เอทีพีถูกผลิตเพิ่มขึ้นตามมา กล่าวคือ ยิ่งไมโตคอนเดรียทำงานเต็มประสิทธิภาพมากเท่าไร ความสามารถในการจัดการกับอนุมูลอิสระที่มีมา จากออกซิเจนก็ยิ่งสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้การออกกำลังกายในระดับพอเหมาะให้เป็นนิสัย จึงเชื่อมโยงกับการชะลอวัย

เชื่อหรือยัง ? การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลเสียอันตรายมากมายเลย ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วนขึ้น แต่ยังส่งผลถึงระบบร่างกายต่าง ๆ แม้ในวัยรุ่น วัยกลางคน จะยังไม่มีเอ็ฟเฟกต์ใด ๆ หรือเห็นเอ็ฟเฟกต์แค่เพียงเล็กน้อย แต่ความผิดปกติเหล่านี้ จะส่งผลตอนเราแก่ตัวขึ้นอย่างแน่นอน อย่าปล่อยให้เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องไกลตัว เริ่มต้นสุขภาพดีได้ง่าย ๆ  ที่ Fitpub ฟิตเนสสุดจ๊าบ ที่สายสุขภาพต้องโดน !

หากใครสนใจบทความดีๆ อย่างนี้อีก สามารถอ่านได้ที่ ลิงก์

ติดตามเราเพื่อรับข้อมูลดีๆได้ที่

📞: 0815469244

📱FB : fitpubthailand

📱 IG : fitpubthailand

Line@ : @fitpub (มี@ข้างหน้าด้วย)

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : edu.nu., akerufeed, workpointtoday, hd